วันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2560

วิเคราะห์วรรณกรรมพื้นบ้าน
เรื่องแก้วหน้าม้า
    ๑.       สรุปเนื้อหาวรรณกรรม
๑.๑ ที่มาของวรรณกรรมพื้นบ้าน เรื่องแก้วหน้าม้า
บทละครนอก เรื่อง แก้วหน้าม้า  เป็นวรรณคดีพระราชนิพนธ์ ของ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์  พระราชโอรสลำดับที่ ๓๕ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับเจ้าจอมมารดาศิลา  พระนิพนธ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ นอกจากพระนิพนธ์เรื่องแก้วหน้าม้าแล้ว  ยังทรงมีผลงานพระนิพนธ์อื่นๆ เช่น บทละครนอกเรื่องยอพระกลิ่น  โคลงนิราศฉะเชิงเทรา  บทละครนอกโม่งป่า  และเพลงยาวสังวาสอีกหลายสำนวน
๑.๒ วรรณกรรมพื้นบ้าน เรื่องแก้วหน้าม้า มีการเผยแพร่มายังไง
มีการสืบทอดต่อๆ กันมาแบบมุขปาฐะและแบบบันทึกเป็นรายลักษณ์อักษร รวมถึงการนำมาแสดงละคร
๑.๓ ผู้แต่ง
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทินกร กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชายทินกร เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 35 และพระองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับเจ้าจอมมารดาศิลา (ราชินิกุล ณ บางช้าง) ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 7 ขึ้น 12 ค่ำ ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม ปีระกา ตรีศก จ.ศ.1213 พ.ศ. 2344 ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ยังดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร มีพระเชษฐภคินี พระเชษฐา และพระขนิษฐาร่วมพระมารดา รวม 5 องค์
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์เจ้าชายทินกรขึ้นเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ เมื่อปีกุน ตรีศก จ.ส. 1213 โดยมีเจ้ากรมเป็นหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ปลัดกรมเป็นขุนพินิจบริบาล สมุหบาญชีเป็น หมื่นชำนาญลิขิต บังคับบัญชากรมพระนครบาล
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ทรงมีผลงานในการเขียนบทละครไว้หลายเรื่อง เช่น เรื่องแก้วหน้าม้า สุวรรณหงษ์ และอื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากนั้นยังทรงเป็นนักเพลงยาว และสักวาชั้นเยี่ยม ซึ่งในสมัยนั้นนิยมเล่นสักวากันมากในหมู่กวี ถือว่าเป็นศิลปชั้นสูงซึ่งเจ้านายสูงศักดิ์และผู้ดีมักนัดชุมนุมลอยเรือ เล่นสักวากันในงานนักขัตฤกษ์หรือในโอกาสพิเศษ สำหรับโคลงสี่สุภาพ ก็ทรงนิพนธ์ไว้ไพเราะมาก เช่น เรื่อง นิราศฉะเชิงเทรา ฯลฯ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมกลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ทรงพระประชวรด้วยพระโรคทุลาวะสะ สิ้นพระชนม์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะโรง อัฐศก จ.ส. 1218 ตรงกับวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399 ศิริพระชันษา รวม 56 ปี ครั้น ณ เดือน 4 ขึ้น 11 ค่ำ (วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2400) เจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระศพกรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ และกรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ 2 พระศพ มาลงเรือเอกไชยที่หน้าวัดพระเชตุพน เวลา 2 ยามเศษ แห่ห้ามไปเข้าเมรุผ้าขาวที่หลังวัดอรุณราชวราราม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการมหรสพ 2 วัน 2 คืน ครั้น ณ เดือน 4 ขึ้น 13 ค่ำ (วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2400) เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงพร้อมกันทั้ง 2 พระองค์
อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki
๑.๔ ต้นฉบับมาจากไหน
เดิมวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่อง “แก้วหน้าม้า” นี้ เป็นวรรณกรรมพื้นบ้านในภาคใต้
๑.๕ ประพันธ์ขึ้นในปีไหน
ประพันธ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓
๑.๖ พิมพ์ที่ไหน
สำนักพิมพ์ สุวีริยาสาส์น, บจก.
            
           ๒.     วิเคราะห์เนื้อเรื่อง
๒.๑ ชื่อเรื่องมาจากไหน
  "แก้วหน้าม้า" ได้ชื่อเรื่องมาจากตัวละครเอกของเรื่อง ซึ่งเดิมชื่อ "แก้ว" แต่เนื่องจากเธอมีรูปลักษณ์เหมือนม้า ทุกคนจึงเรียกเธอว่า แก้วหน้าม้า
             ๒.๒ แก่นเรื่อง
                         อย่ามองคนแค่รูปร่างหน้าตาภายนอก เพราะคนดีไม่ได้ดูแค่ภายนอก
            ๒.๓ โครงเรื่อง
     ส่วนนำ อารัมภบทอ้างอิงถึงคุณพระรัตนตรัย คุณบิดามารดา ครูอาจารย์ ขอจงมาช่วยรักษาคุ้มครองรักษาให้รุ่งเรือง ขอให้มีปัญญาเลิศ คล่องแคล่วในการเขียนกลอน
     เปิดเรื่อง พระปิ่นทองไปเล่นว่าวและเชือกว่าวขาด จึงได้ไปตามจนได้พบกันกับนางแก้วและขอว่าคืน ได้ตกลงกันว่าหากได้ว่าวคืนจะรับนางแก้วเป็นเมียและพานางแก้วเข้าไปอยู่ในวังด้วย
     ดำเนินเรื่อง นางแก้วได้เข้าไปอยู่ในวังกับพระปิ่นทอง แต่พระปิ่นทองและพระบิดาไม่ชอบจึงหากลอุบายต่างๆ เพื่อกำจัดนางแก้ว
     ปม พระปิ่นทองไม่รู้ว่านางแก้วสามารถถอดจากหน้าม้า มาเป็นหญิงสาวสวยได้
     จุดสูงสุด นางแก้วออกทำศึกกับยักษ์ที่มาโจมตีเมือง
     คลายปม หลังจากที่นางแก้วชนะศึกจากท้าวประกายมาต พระปิ่นทองได้ขอให้นางแก้วถอดหน้าม้าออก พระปิ่นทองจึงได้รู้
     ปิดเรื่อง ท้าวภูวดลและนางนันทา ได้จัดพิธีสมรสให้นางแก้วเป็นพระมเหสีของพระปิ่นทองและเปลี่ยนชื่อให้นางแก้วเป็น "นางมณีรัตนา" นางแก้วให้คนพาพ่อและแม่มาอยู่ในวังด้วย ไม่นานนางแก้วก็ตั้งครรภ์อีกครั้ง แล้วได้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
๒.๔ ภาษา,ฉันทลักษณ์
วรรณกรรม เรื่องแก้วหน้าม้า ใช้ภาษาพื้นบ้าน ในการประพันธ์ และมีการใช้ภาษาที่มีการเล้าความตื่นเต้นและความสนุก
ฉันทลักษณ์ในการประพันธ์วรรณกรรมพื้นบ้าน เรื่องแก้วหน้าม้า เป็นการประพันธ์ในรูปแบบของบทร้อยแก้ว แต่ก็มีการสัมผัสบ้างเพื่อความสนุกของผู้อ่าน
๒.๕ ฉาก,สถานที่ (หลัก/รอง) เกี่ยวกับเรื่องอย่างไร
ฉากและสถานที่
        ฉากหลักและสถานที่ในเรื่องแก้วหน้าม้า เป็นการผจญภัยของนางแก้วที่ต้องเดินป่า เพื่อไปนำยอดเขาพระสุเมรมาไว้ในเมืองมิถิลา ซึ่งเป็นกลอุบายของพระเจ้าภูวดล ซึ่งนางแก้วต้งเจออุปสรรค์มากมาย
        ฉากรองและสถานที่ในเรื่องแก้วหน้าม้า เป็นการดำเนินเรื่องในเมืองมิถิลา เมืองโรมวิถี เมืองยักษ์

           ๓.      ความโดดเด่นของวรรณกรรม
๓.๑ เนื้อหา
เป็นวรรณกรรมเกี่ยวกับการผจญภัยของตัวละครเอกของเรื่อง คือนางแก้วหน้าม้า ในการดำเนินเรื่อง  เพื่อความสนุกและความตื่นเต้นชวนให้ติดตาม รวมถึงมีการสอนสอดแทรกไว้ในเรื่องด้วย เช่น ตอนที่พระนางนันทา ตรัสถามพระปิ่นทองถึงเรื่องที่พระปิ่นทองไปให้คำสัญญากับนางแก้วว่าจะไปรับนางแก้วมาเป็นมเหสีเป็นความจริงหรือไม่ หากเป็นความจริง กษัตริย์ตรัสแล้วต้องทำตามสัจจะ เป็นต้น
๓.๒ ตัวละคร
     ท้าวภูวดล เจ้าเมืองมิถิรา มีนิสัยที่ไม่ชอบนางแก้ว และหาทางต่างๆ เพื่อกำจัดนางแก้ว จนสุดท้ายก็ต้องยอมรับด้วยความดีของนางแก้ว
     พระมเหสีนันทา มีนิสัยเป็นคนมีเมตตา ใจดี
     พระปิ่นทอง โอรสของเจ้าเมือง เป็นคนรูปงาม ไม่มีความสามารถด้านการรบ ไม่ชอบรูปหน้าม้าของนางแก้ว หลายเมีย
     นางแก้วหน้าม้า มีรูปลักษณ์เหมือนม้า แต่สามารถถอดรูปเป็นหญิงสาวสวยได้ เป็นคนรักเดียว และคนมีฤทธิ์
     ฤๅษี มีนิสัยเมตตา ได้มอบพรให้แก่นางแก้วในการถอดรูป มอบอาวุธและพาหนะเดินทาง คือ มีดอีโต้กับเรือ ให้เป็นของคู่กายนางแก้ว
๓.๓ ฉันทลักษณ์
ฉันทลักษณ์ในการประพันธ์วรรณกรรมพื้นบ้าน เรื่องแก้วหน้าม้า เป็นการประพันธ์ในรูปแบบของบทร้อยแก้ว แต่ก็มีการสัมผัสบ้างเพื่อความสนุกของผู้อ่าน
๓.๔ การใช้ภาษา
เดิมต้นฉบับวรรณกรรม เรื่องแก้วหน้าม้า ใช้ภาษาพื้นบ้าน ในการประพันธ์ และมีการใช้ภาษาที่มีการเล้าความตื่นเต้นและความสนุก

        ๔.      การนำไปประยุกต์ใช้ที่ผ่านมา (อ้างอิง) เช่น ละคร ช่วงไหน, หนังสือเรียน ชั้นไหน เป็นต้น
แก้วหน้าม้าได้นำมาสร้างเป็นละครพื้นบ้านในอีกหลายครั้ง โดยมีการสร้างทั้งหมด 5 ครั้ง ประกอบไปด้วย
·         ครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2530 นำแสดงโดยชาตรี ภิญโญ กับสินี หงษ์มานพ
·         ครั้งที่ 2 ในปีพ.ศ. 2544 โดยครั้งที่ 2 ออกอากาศทางช่อง 3 นำแสดงโดย อติเทพ ชดช้อย และ นฤมล พงษ์สุภาพ
·         ครั้งที่ 3 ในปี 2544 เช่นเดียวกับครั้งที่ 2 แต่ออกอากาศทางช่อง 7 นำแสดงโดยไชยา มิตรชัย , สิริมา อภิรัตนพันธุ์ , หยาดทิพย์ ราชปาล ผลิตโดยสามเศียร
·         ครั้งที่ 4 ในปี พ.ศ. 2558 ออกอากาศทางช่อง 7 นำแสดงโดย เอกราช กฤตสิริทิพย์ , ดาริน ดารากานต์ รวมทั้งสิ้น102ตอน ผลิตโดยบริษัท สามเศียร
·         ครั้งที่ 5 ในปี 2558 เช่นเดียวกับครั้งที่ 4 แต่ออกอากาศทางช่องไทยทีวี นำแสดงโดย ไชยวัฒน์ ผายสุวรรณ , ปุณฐิภาภัคร์ สุวรรณราช ผลิตโดยบริษัท ไอพีเอ็ม โปรดักชั่น จำกัด
อ้างอิงhttps://th.wikipedia.org/wiki

             -สรุปเนื้อหาด้วยอินโฟรกราฟฟิก 


    ๕.     สร้างสรรค์ให้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนสำหรับนักเรียน
เช่น นิทาน สรภัญญะ ภาพระบายสี การ์ตูน โครงงาน สมุดภาพ (อย่าชิ้นใหญ่ สามารถพกพาไปได้ง่าย)
การสร้างสรรค์สื่อประกอบการเรียนการสอน คือ สร้างสรรค์ในรูปแบบของบทละคร ประยุกต์สั้นๆ ที่เหมาะแก่วัยและวุฒิภาวะของนักเรียน มีการสร้างฉากการต่อสู้เพื่อความตื่นเต้นและเร้าความสนใจของนักเรียน มีการเพิ่มมุกตลกสอดแทรกเข้าในบทละครเพื่อความสนุก และที่สำคัญคือสอดแทรกในเรื่องคุณธรรมจริยธรรมเข้าไว้ในบทละครด้วย เพื่อเป็นการสอนให้นักเรียนรู้ถูก ผิด และครูกับนักเรียนร่วมกันสรุปแสดงความคิดเห็น สิ่งที่ได้จากการดูละครหลังจากทำการเรียนการสอนเสร็จ และให้นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้จากการดูละครส่งครูในคาบเรียนหน้า
ขั้นตอนในการทำการเรียนการสอน
-                   ครูชี้แจงให้นักเรียนทราบเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในคาบเรียนนี้
-                   ทุกคนร่วมกันเลือกนักเรียนเป็นตัวละคร เพื่อทำการแสดง
-                   ครูแจกบทละครสั้นๆ ที่เตรียมไว้แล้วให้กับนักเรียนประจำตัวละครแต่ละตัว
-                   ครูคอยให้คำปรึกษาและแสดงความคิดเห็นให้กับนักเรียน
-                   ฝึกซ้อม พร้อมให้นักเรียนทำความเข้าใจในบทละครและเอกลักษณ์ประจำตัวละครตัวนั้นๆ
-                   ทำการแสดงละครในชั้นเรียน
-                   ครูและนักเรียนช่วยกันสรุป แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับละครหลักจากที่ทำการแสดงเสร็จ
-                   ให้นักเรียนสรุปและแสดงความคิดเห็นใส่กระดาษ A4 เป็นการบ้านแล้วนำมาส่งในคาบเรียนหน้า
เพลงวรรณกรรมพื้นบ้าน เรื่องแก้วหน้าม้า
ตอน พระปิ่นทองง้อขอนางแก้วคืนดี

เพลง อ้ายขอโทษ
จักน้องเป็นจั่งใด๋
กับหัวใจที่อ้ายบอกลา
บ่เหลียวเบิ่งแก้วตา
จนฮู่ว่ามื้อนี้เจ้าเสียใจ
อ้ายผิดไปแล้ว
ขอน้องแก้วนั้นให้อภัย
เพราะตอนนี้หัวใจ
ของอ้ายนั้นเรียกหาเธอ ฮือ...
* ป่านนี้อยู่ไส
หนอขวัญใจของอ้ายคืนมา
อ้ายขอโทษน้องหล่า
กลับมาเคียงคู่อ้ายได้บ่
ต่อแต่นี้ไป หัวใจของอ้ายอยากสิขอ น้องหล่า
ให้คืนมา สิขอเจ้ามาเคียงคู่ใจ

** ให้คืนมาสิฮักเจ้า บ่มีเปลี่ยนไป